ภาษาถิ่นญี่ปุ่น:โอกินาว่า

โอกินาว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงต้นสมัยเมจิ ก่อนหน้านั้นเป็นประเทศแบบราชาธิปไตยชื่อประเทศริวกิวปกครองโดยราชาริวกิว ในสมัยเมจิได้กลายเป็นเขตริวกิว (ริวกิวฮัน) และกลายเป็นจังหวัดในช่วงที่เปลี่ยนฮันเป็นจังหวัด ดังนั้นตั้งแต่ก่อนสมัยเมจิจึงมีการใช้ภาษาริวกิวเป็นภาษาหลัก ในปัจจุบัน ถ้อยคำในเกาะหรือพื้นที่ในหลายๆจุดของจังหวัดโอกินาว่าก็ยังมีภาษาโอกินาว่าอยู่มาก (อุจินาคุจิ) ประวัติศาสตร์ของคำเหล่านั้นได้มีแนวคิดสองแบบคือ แนวคิดที่คิดว่าภาษาโอกินาว่าเป็นภาษาถิ่นญี่ปุ่นภาษาหนึ่ง และแนวคิดที่คิดว่าไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่เดิม จึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น แต่เป็นภาษาโอกินาว่า จากประวัติศาสตร์ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยเมจิได้มีการกำหนดภาษากลางขึ้น ทำให้มีการใช้ภาษากลางกัน การศึกษาที่โรงเรียนหากให้เรียนภาษาถิ่นอาจต้องโดนลงโทษ ซึ่งไม่ใช่ที่โอกินาว่าที่เดียว แต่เป็นนโยบายการศึกษาภาษาญี่ปุ่นในสมัยนั้นของหลากหลายพื้นที่ของญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดให้คนญี่ปุ่นที่ไม่พูดภาษากลางต้องเรียนภาษากลาง ในสมัยโชวะก็เช่นกัน โดยเฉพาะที่โอกินาว่า มีการจัด "กิจกรรมส่งเสริมภาษากลาง" ขึ้น หากพูดภาษาถิ่น จะมีการลงโทษโดนแขวนป้ายที่คอ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังมีเขียนในหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนในปัจจุบันด้วย โดยเป็นประเด็นปัญหาสำคัญขนาดออกในการสอบของครูสอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ด้านคนที่รู้สึกกังวลหากภาษาญี่ปุ่นมีภาษากลางที่เหมือนกันหมด จึงดำเนินกิจกรรม "การต่อต้านเพื่อภาษาถิ่นโอกินาว่า" ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้สำนึกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและความสำคัญของการใช้และการสืบทอดภาษาถื่นโอกินาว่านี้ ในปัจจุบันชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นที่โรงเรียนภาษาญี่ปุ่น จะมีโปรแกรม "ใช้ภาษาญี่ปุ่นท้องถิ่น" ซึ่งจะมีการทดสอบให้สามารถเรียนได้ทั้งภาษากลางและภาษาถิ่นไปด้วยกันได้ ที่โอกินาว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่มากหากเทียบกับทั้งญี่ปุ่น ในพื้นที่เช่นนี้ หากสอนทั้งภาษากลางและภาษาถิ่นให้ชาวต่างชาติที่เรียนที่โรงเรียนภาษาญี่ปุ่น จะเป็นเรื่องที่ดีเยี่ยม ซึ่งจะทำให้เรียนได้ทั้งประวัติศาสตร์ของภาษาและประวัติศาสตร์ของพื้นที่นั้นด้วย และจะทำให้ความสัมพันธ์ของชาวต่างชาติและคนท้องถิ่นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เข้าใจกันยิ่งขึ้น การก้าวข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทางเชื้อชาติ และทางยุคสมัย เพื่อให้สื่อสารกันได้ เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งการเรียนภาษาถิ่นจะเป็นการเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจกันของวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของพื้นที่ วิถีการดำเนินชีวิต และค่านิยมได้